Frequently Asked Questions

เราได้รวบรวมเนื้อหาที่คุณอาจสงสัยในการดำเนินงาน และการให้บริการกับลูกค้าของเรา ต่อไปนี้จะเป็นคำถามที่เราได้ตอบให้กับลูกค้าจำนวนมาก เพื่อให้คุณพิจารณาเผื่อคุณจะพบคำตอบในสิ่งที่คุณต้องการ

Tabs

        ทางศูนย์ฯ เปิดรับตัวอย่าง​ในวัน จันทร์​ พุธ​ ศุกร์​ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ทุก 2 ช่วงเวลา

  • ช่วงเช้า8.30​-​11.45 น.
  • ช่วงบ่าย13.00​-16.15 น.
  • 1. ชำระด้วยตนเอง​ ติดต่อชำระเงินที่ งานการเงินและพัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้น 1 อาคารภาควิชาโยธา (ห้อง CE113)
  • 2. ชำระผ่านทางธนาคาร​ โดยผ่าน เช็คเงินสด หรือ ใบนำฝาก หรือใบโอนเงิน (เช็คเงินสดสั่งจ่าย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หรือโอนเข้า บัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขามหาวิทยาลัยนเรศวร เลขที่บัญชี 857-0-24171-2 ชื่อบัญชี คณะวิศวกรรมศาสตร์)
  • 3. ชำระผ่านอินเตอร์เนตแบงค์กิ้ง​ โดยโอนเข้า บัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขามหาวิทยาลัยนเรศวร เลขที่บัญชี 857-0-24171-2 ชื่อบัญชี คณะวิศวกรรมศาสตร์

หมายเหตุ

    กรณีชำระผ่านธนาคาร และอินเตอร์เนตแบงค์กิ้ง กรุณาถ่ายรูปใบนำฝาก หรือ ใบโอน หรือ หลักฐานการโอน ใน รูปแบบที่ดำเนินการโอน พร้อมระบุ ชื่อและที่อยู่สำหรับการออกใบเสร็จรับเงิน แล้วส่งอีเมล์กลับมายังศูนย์ทดสอบฯ (ตามช่องทางด้านล่างนี้)

  • กรณีติดต่อกับคุณวิชญา witchayai@hotmail.com
  • กรณีติดต่อกับคุณนิภาวรรณ popeye_biews@hotmail.com
  • 1. ลูกค้าติดต่อขอใบเสนอราคาและแจ้งค่าใช้จ่าย
  • 2. ศูนย์ทดสอบส่งใบเสนอราคาและแจ้งค่าใช้จ่ายลูกค้า
  • 3. ลูกค้าส่งตัวอย่างพร้อมชำระเงิน ด้วยวิธีการชำระเงินในรูปแบบต่างๆ
  • 4. การเงินตรวจสอบหลักฐานการชำระเงินพร้อมกับออกใบเสร็จ
  • 5. ลูกค้ารับใบขอรับบริการ ​ ศูนย์ทดสอบออกใบขอรับบริการ และให้ลูกค้าเก็บเป็นหลักฐาน
  • 6. ศูนย์ทดสอบดำเนินการทดสอบและวิศวกรผู้ตรวจสอบเซนต์รับรอง
  • 7. ศูนย์ทดสอบแจ้งผลการทดสอบให้ลูกค้า ​ หากผลการทดสอบเสร็จ เจ้าหน้าที่ศูนย์ทดสอบ จะโทรแจ้งลูกค้า โดยลูกค้าเดินทางมารับผลหรือเลือกรับผลทางไปรษณีย์

ทางศูนย์ทดสอบของเราสามารถทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรม แยกเป็น 2 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มงานทดสอบคุณสมบัติวัสดุโยธา และกลุ่มงานทดสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม

กลุ่มงานทดสอบคุณสมบัติวัสดุโยธา

  • เหล็ก เช่น กำลังดึง(เหล็กเส้นกลม/เหล็กข้ออ้อย/ลวดอัดแรง/ลวดสปริง), การสแกนหาเหล็กในคอนกรีต เป็นต้น
  • คอนกรีต เช่น กำลังอัด(คอนกรีต/คอนกรีตบล็อก/อิฐ/กำแพงอิฐ), การยิงคอนกรีตด้วย Schmidt Hammer, การเจาะคอนกรีต, การดูดซึม(คอนกรีตบล็อก/อิฐ) เป็นต้น
  • หิน ดิน ทราย เช่น ขนาดคละ, ความถ่วงจำเพาะ, หน่วยน้ำหนัก, การดูดซึม, ปริมาณสารอินทรีย์ในทราย, ความคงทน, ความสึกกร่อน, การบดอัดดิน, การยุบตัวของดิน, ขีดความข้นเหลวของดิน เป็นต้น
  • เคลือบผิวทาง เช่น คุณสมบัติแอลฟัลต์, ทดสอบความต้านทานการลื่นไถลของผิวทาง, ทดสอบการขัดสีของมวลรวมและความต้านทานการลื่นไถล, ตรวจสอบการออกแบบส่วนผสมแอลฟัลต์, เป็นต้น
  • อื่นๆ

กลุ่มงานทดสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม

  • น้ำ เช่น สี, พีเอช, ความขุ่น, สภาพการนำไฟฟ้า, ความเป็นด่างรวม, ความเป็นกรด, ความกระด้าง, บีโอดี, ซีโอดี, ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, คลอรีน, ไนไตรต์, ไนเตรท, คลอไรด์, ซัลเฟต, ซัลไฟด์, ฟลูออไรด์, ไขมันและน้ำมัน, โคลิฟอร์มรวม, ฟีคัลโคลิฟอร์ม, สารอินทรีย์คาร์บอน เป็นต้น
  • ดิน ปุ๋ย ขยะ เช่น พีเอช, ความชื้น, ไนโตรเจนทั้งหมด, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม, ค่าการนำไฟฟ้า, ประมาณอินทรีย์, ปริมาณเถ้า, ค่าพลังงานความร้อน, ปริมาณหินกรวด เป็นต้น
  • ทดสอบโลหะหนักในตัวอย่าง น้ำ ดิน ปุ๋ย และขยะ เช่น โซเดียม, แมกนีเซียม, อลูมิเนียม, ซีลีเนียม, แบเรียม, แมงกานีส, แคดเมียม, โครเมียม, ทองแดง, ตะกั่ว, สังกะสี, เงิน, เหล็ก, แคลเซียม, ไททาเนียม, นิกเกิล, โพแทสเซียม, ซิลิคอน, ปรอท, และสารหนู เป็นต้น
  • อากาศและเสียง เช่น ก๊าซไฮโดรเจน, ก๊าซชีวภาพ(คาร์บอนมอนอกไซด์ ออกซิเจน ไนโตรเจน มีเทน คาร์บอนมอนอกไซด์), ฝุ่นละอองในบรรยากาศ (TSP PM10 และฝุ่นตก), ฝุ่นละอองส่วนบุคคล (TSP และ PM10), และการวัดเสียง เป็นต้น
  • ทดสอบด้วยเครื่องมือพิเศษ เช่น เครื่องวิเคราะห์อินทรีย์คาร์บอนทั้งหมด(TOC), เครื่องวิเคราะห์ก๊าซ(GC), เครื่องวิเคราะห์โละหนัก(AAS แบบ Flame, Graphite, และ Hydride)

ทางเราไม่นิ่งนอนใจ ที่จะพัฒนาคุณภาพของกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ลูกค้า เกิดความมั่นใจในทุกขั้นตอนของเรา และเรายินดีที่จะแจ้งให้ลูกค้าทราบว่า

ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ (ด้านความปลอดภัย) จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)    โดยได้รับการรับรองครบทั้ง 7 องค์ประกอบ
QA