- หลักสูตรระดับ 4 ปริญญาโท ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
- หลักสูตร 2 ปี ศึกษาได้ไม่เกิน 5 ปีการศึกษา
รหัสและชื่อหลักสูตร
- ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง
- ภาษาอังกฤษ : Master of Engineering Program in Construction Management
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
- ชื่อเต็ม (ไทย) : วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารงานก่อสร้าง)
- ชื่อย่อ (ไทย) : วศ.ม. (การบริหารงานก่อสร้าง)
- ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Engineering (Construction Management)
- ชื่อย่อ (อังกฤษ) : M.Eng. (Construction Management)
รูปแบบของหลักสูตร
สาขาวิชาชีพการบริหารงานก่อสร้าง เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่จะช่วยให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติบรรลุวัตถุประสงค์ โดยมูลค่าทางเศรษฐกิจของงานด้านการบริหารงานก่อสร้าง มีมูลค่ามหาศาลเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศ และเป็นการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้แก่ประเทศมาโดยตลอด ปัจจุบันยังมีความต้องการวิศวกรด้านบริหารงานก่อสร้างอีกเป็นจำนวนมากเพื่อปฏิบัติงานในหลายหน่วยงาน ทั้งในส่วนของราชการและในส่วนของภาคเอกชน โดยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การออกแบบอาคารสิ่งปลูกสร้าง การควบคุมงานก่อสร้าง การสารวจตรวจสอบ การวิจัยพัฒนา เป็นต้น
วัตถุประสงค์
- มีความสามารถเป็นผู้นำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญไปพัฒนางานด้านวิศวกรรมการบริหารงานก่อสร้าง ให้บังเกิดผลอย่างแท้จริง และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
- มีทักษะด้านการบริหารการจัดการโครงการวิศวกรรมในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน สามารถจัดการพัฒนาและกำหนดกระบวนการดำเนินงานบริหารพัฒนาโครงการวิศวกรรมที่มีประสิทธิภาพ
- มีความสามารถในการพัฒนาการศึกษาและการวิจัยทางด้านวิศวกรรมการบริหารงานก่อสร้าง ให้มีขีดความสามารถทัดเทียมอารยประเทศ และสามารถนำไปใช้พัฒนาการจัดการโครงการวิศวกรรมของท้องถิ่นและของประเทศได้
- มีจริยธรรม และคุณธรรมในการเป็นผู้นำแห่งวิชาชีพ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs)
- ELO 1 สามารถปฏิบัติตนภายใต้หลักการจรรยาบรรณทางวิชาการ วิจัย และวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม แสดงออกถึงทักษะความเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสม
- ELO 2 สามารถระบุ ตั้งสมการ วิจัย สืบค้น และวิเคราะห์ปัญหาทางการบริหารงานก่อสร้าง และใช้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาโดยใช้แนวทางการแก้ปัญหาตามหลักและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์
- ELO 3 สามารถดำเนินงานวิจัยโดยใช้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ดุลยพินิจ เทคนิควิจัยหรือเทคนิคคำนวณ การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ เพื่อหาผลสรุปที่สมบูรณ์ที่ขยายองค์ความรู้เดิม หรือแนวทางปฏิบัติได้อย่างมีนัยสำคัญ
- ELO 4 สามารถพัฒนาความรู้ และหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน และสามารถนำไปใช้พัฒนาการจัดการโครงการทางวิศวกรรมโยธาได้
- ELO 5 สามารถตัดสินใจในการดำเนินงานด้วยตนเอง รวมทั้งวางแผนในการปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระดับสูงได้ และสามารถให้คำปรึกษาเพื่อนำไปพัฒนางานด้านบริหารงานก่อสร้างในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ให้บังเกิดผลอย่างแท้จริง
- ELO 6 สามารถเลือกใช้เครื่องมือทันสมัยทางวิศวกรรม เทคนิควิธี ทรัพยากร คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้าข้อมูล รวมถึงสื่อสารงานวิศวกรรมที่ชับซ้อนกับกลุ่มผู้ปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมและสังคมโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำร็จการศึกษา
- วิศวกรโยธา และผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรม ได้แก่ วิศวกรโครงสร้าง
- วิศวกรออกแบบโครงสร้างและวิศวกรรม วิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง วิศวกรสารวจ วิศวกรประมาณราคา
- ผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมโยธา ได้แก่ บริษัทรับเหมาก่อสร้าง บริษัทที่ปรึกษา บริษัทออกแบบ บริษัทสารวจ บริษัทผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา
- ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ทั้งภาครัฐและเอกชน