รหัสและชื่อหลักสูตร
  • ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Civil Engineering
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
  • ชื่อเต็ม (ไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา)
  • ชื่อย่อ (ไทย) : ปร.ด. (วิศวกรรมโยธา)
  • ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Civil Engineering)
  • ชื่อย่อ (อังกฤษ) : Ph.D. (Civil Engineering)
รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับ 6 (ปริญญาเอก) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มุ่งเน้นที่จะผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีศักยภาพในการวิจัยสูง เน้นการศึกษาวิจัยทั้งในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาเชิงลึก และการวิจัยเชิงบูรณาการกับสาขาวิชาอื่นๆ เพื่อสรรค์สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถแข่งขันได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อตอบสนองต่อแผนพัฒนาประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มุ่งเน้นที่จะผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีศักยภาพในการวิจัยสูง เน้นการศึกษาวิจัยทั้งในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาเชิงลึก และการวิจัยเชิงบูรณาการกับสาขาวิชาอื่นๆ เพื่อสรรค์สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถแข่งขันได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อตอบสนองต่อแผนพัฒนาประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0

สาขาวิศวกรรมโยธา จัดเป็นสาขาแรกและเป็นสาขาพื้นฐานที่สุดในงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ มีขอบข่ายงานกว้างขวาง อาทิเช่น การก่อสร้าง การดัดแปลง การบูรณะ การรื้อถอน โครงสร้างอาคารที่อยู่อาศัย อาคารสาธารณูปโภคต่างๆ การจัดการและพัฒนาแหล่งน้ำ การวางแผนจราจรและขนส่ง การกำหนดผังเมือง การจัดการขยะมูลฝอย และงานในลักษณะอื่นๆ อีกมากมาย เคยมีผู้กล่าวว่า หากงานใดไม่สามารถจัดให้อยู่ในวิศวกรรมสาขาใดๆ ได้เป็นการเฉพาะ งานนั้นคืองานด้านวิศวกรรมโยธา หลักสูตรด้านวิศวกรรมโยธายังคงมีความสำคัญอยู่เสมอ ตราบเท่าที่มนุษย์ยังคงต้องการที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของชีวิต

วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
  1. เป็นผู้คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการและวิชาชีพ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีความเป็นผู้นำ สามารถทำงานร่วมมือกับสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
  2. เป็นผู้มีความรู้ และทักษะทางวิชาการขั้นสูงในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาในแขนงวิชาใดแขนงหนึ่ง ได้แก่ เช่น ด้านวิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมการก่อสร้าง
  3. ประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการขั้นสูง และ กระบวนการวิจัย เพื่อสร้างงานวิจัย และ/หรือสร้างนวัตกรรมด้านวิศวกรรมโยธา สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางวิศวกรรมโยธา ที่สามารถบูรณาการกับสาขาอื่น เพื่อให้เกิดนวัตกรรมได้
  4. มีความสามารถพัฒนาโครงการวิศวกรรมโยธาในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ให้เกิดองค์ความรู้ ความสำนึก การจัดการพัฒนาและกระบวนการดำเนินงานบริหารพัฒนาโครงการวิศวกรรมโยธาที่มีประสิทธิภาพ
  5. มีความสามารถในการใช้ทักษะด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและข้อมูล  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนอ ถ่ายทอด และเผยแพร่ผลงานวิจัยได้ทั้ง ระดับชาติและหรือนานาชาติ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs)
  1. ELO 1 ปฏิบัติตามคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการและวิชาชีพ สามารถใช้หลักการทางจรรยาบรรณและมีสำนึกรับผิดชอบต่อมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรม
  2. ELO 2 สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิชาการขั้นสูงในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาในแขนงวิชาใดวิชาหนึ่ง ได้แก่ ด้านวิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ วิศวกรรมขนส่ง วิศวกรรมบริหารงานก่อสร้าง และวิศวกรรมสำรวจ เพื่อการทำงานที่ซับซ้อนทางวิศวกรรมโยธา
  3. ELO 3 สามารถระบุปัญหา ออกแบบแนวทางในการวิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างงานวิจัย และ/หรือสร้างนวัตกรรมด้านวิศวกรรมโยธาขั้นสูงได้
  4. ELO4 สามารถนำองค์ความรู้ทางวิชาการขั้นสูงในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาในด้านต่างๆ มาใช้เพื่อดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยที่ถูกต้อง เพื่อสร้างงานวิจัย และ/หรือสร้างนวัตกรรมด้านวิศวกรรมโยธาขั้นสูงได้
  5. ELO 5 สามารถนำทักษะวิจัยทางวิศวกรรมโยธาขั้นสูงไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาโครงการวิศวกรรมโยธาในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีความซับซ้อนผ่านกระบวนการวิจัย ได้อย่างเหมาะสม ถูกต้องตามหลักการ ทั้งด้านทฤษฎี และเทคนิคปฏิบัติ
  6. ELO 6 ใช้ทักษะด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและข้อมูล  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนอ ถ่ายทอด และเผยแพร่ผลงานวิจัยได้ทั้งระดับชาติ และ/หรือ ระดับนานาชาติ มีภาวะผู้นำที่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ในบริบทของการทำงานเชิงวิชาการและวิชาชีพ
  7. ELO 7 สามารถบูรณาการองค์ความรู้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะการวิจัยทางด้านวิศวกรรมโยธากับสาขาวิชาอื่น ๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่หรือแก้ปัญหาเชิงระบบที่ซับซ้อนได้
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำร็จการศึกษา
  1. งานที่เกี่ยวกับวิชาการทางสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา เช่น อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ
  2. วิศวกรโยธาในหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน
  3. ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับด้านวิศวกรรมโยธา