หลักสูตรระดับ 4 ปริญญาโท ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
รหัสและชื่อหลักสูตร
- ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
- ภาษาอังกฤษ : Master of Engineering Program in Civil Engineering
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
- ชื่อเต็ม (ไทย) : วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา)
- ชื่อย่อ (ไทย) : วศ.ม. (วิศวกรรมโยธา)
- ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Engineering (Civil Engineering)
- ชื่อย่อ (อังกฤษ) : M.Eng. (Civil Engineering)
รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรนี้มุ่งผลิตมหาบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง ผู้บริหาร วิศวกร ช่างโยธา ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้มีสำนึกในจริยธรรมของวิชาชีพ สามารถบริหารหรือจัดการงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามหลักวิชาการ สามารถพัฒนากระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาทางการปฏิบัติงานของตนได้ ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและการวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ต้องทำการพัฒนาทรัพยากรมนุษยทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
- มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาที่สนใจแขนงใดแขนงหนึ่ง เช่น ด้านวิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ วิศวกรรมขนส่ง วิศวกรรมการก่อสร้าง และวิศวกรรมสำรวจ
- มีคุณภาพ สามารถเป็นผู้พัฒนาและนำองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และให้คำปรึกษาไปพัฒนางานด้านวิศวกรรมโยธาเฉพาะทางในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ให้บังเกิดผลอย่างแท้จริง และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
- มีทักษะในด้านการพัฒนาโครงการวิศวกรรมโยธาในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ให้เกิดองค์ความรู้ ความสำนึก การจัดการพัฒนาและกระบวนการดำเนินงานบริหารพัฒนาโครงการวิศวกรรมโยธาที่มีประสิทธิภาพ
- มีประสิทธิภาพในการพัฒนาการศึกษา การวิจัย ต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ทางด้านวิศวกรรมโยธาให้มีขีดความสามารถทัดเทียมอารยประเทศ และสามารถนำไปใช้พัฒนาการจัดการโครงการวิศวกรรมโยธาของภูมิภาคและของประเทศได้
- มีจริยธรรม และคุณธรรมในการเป็นผู้นำแห่งวิชาชีพ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs)
- ELO1 ปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเสียสละ สามารถใช้หลักการทางจรรยาบรรณและมีสำนึกรับผิดชอบต่อมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรม ปฏิบัติตามจริยธรรม และคุณธรรมในการเป็นผู้นำแห่งวิชาชีพ
- ELO2 สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้เฉพาะด้านในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาที่สนใจแขนงใดแขนงหนึ่ง ได้แก่ ด้านวิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ วิศวกรรมขนส่ง วิศวกรรมการก่อสร้าง และวิศวกรรมสำรวจ เพื่อการทำงานที่ซับซ้อนทางวิศวกรรมโยธา
- ELO3 สามารถระบุปัญหา ตั้งสมการ สืบค้น วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และออกแบบกระบวนการแก้ไขปัญหา เพื่อดำเนินการวิจัยทางวิศวกรรมโยธา
- ELO4 สามารถนำความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มาใช้ในการดำเนินการวิจัยในหัวข้อวิจัยทางด้านวิศวกรรมโยธาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ELO5 สามารถเลือกใช้หรือพัฒนากระบวนงาน เพื่อดำเนินโครงการด้านวิศวกรรมโยธา ที่มีความซับซ้อน ได้อย่างเหมาะสม ถูกต้องตามหลักการ ทั้งด้านทฤษฎี และเทคนิคปฏิบัติ
- ELO6 ใช้ทักษะด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและข้อมูล สามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนอ ถ่ายทอด และเผยแพร่ผลงานวิจัยได้ทั้ง ระดับชาติและ/หรือ ระดับนานาชาติ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำร็จการศึกษา
- วิศวกรโยธาในหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กองช่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ เป็นต้น
- วิศวกรโยธาในหน่วยงานเอกชน
- เจ้าของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง