รหัสและชื่อหลักสูตร
  • ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Environmental Engineering
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
  • ชื่อเต็ม (ไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม)
  • ชื่อย่อ (ไทย) : ปร.ด. (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม)
  • ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Environmental Engineering)
  • ชื่อย่อ (อังกฤษ) : Ph.D. (Environmental Engineering)
รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับ 6 (ปริญญาเอก) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายเพื่อผลิตนักวิจัยทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมที่มีความรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้และลึกซึ้งในองค์ความรู้ระดับสูงด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเป็นผู้นำทางวิชาการที่มีความเข้าใจและสามารถสร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ผ่านการทาวิจัยอย่างเป็นระบบ ผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้งานได้จริง เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีภาวะผู้นำ รับผิดชอบ สามารถทางานร่วมกับผู้อื่นและจัดการกับปัญหาทางจริยธรรมในบริบทของวิชาการและวิชาชีพได้ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายเพื่อผลิตนักวิจัยทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมที่มีความรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้และลึกซึ้งในองค์ความรู้ระดับสูงด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เป็นผู้นำทางวิชาการที่มีความเข้าใจและสามารถสร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ผ่านการทำวิจัยอย่างเป็นระบบ ผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้งานได้จริง เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีภาวะผู้นำ รับผิดชอบ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและจัดการกับปัญหาทางจริยธรรมในบริบทของวิชาการและวิชาชีพได้ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

เทคโนโลยีด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมที่สำคัญประกอบด้วย เทคโนโลยีด้านการปรับปรุงคุณภาพน้ำและบำบัดน้ำเสีย การบำบัดมลพิษทางอากาศ เทคโนโลยีสะอาดและการประเมินวัฏจักรชีวิต การจัดการและกำจัดขยะมูลฝอย และขยะอันตราย เทคโนโลยีเหล่านี้ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วนของการพัฒนาประเทศเพื่อให้เป็นไปได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน กล่าวคือเกิดการป้องกัน บำบัด และลดมลพิษจากแหล่งกำเนิดได้แก่ ชุมชน อุตสาหกรรม และเกษตรกรรมให้อยู่ในระดับที่สามารถปล่อยเข้าสู่สิ่งแวดล้อมได้โดยไม่ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษเพิ่มขึ้น และสามารถหมุนเวียนทรัพยากรต่าง ๆ ที่ผ่านการบำบัด เช่น น้ำ ของที่เป็น ผลพลอยได้จากการผลิต หรือการแปรรูปของเสียเพื่อหมุนเวียนใช้ใหม่ ทำให้การใช้ทรัพยากรคุ้มค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิตเพื่อสนับสนุนการออกนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ จึงเกิดความต้องการบุคลากรทั้งวิศวกรและนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถ ในวิชาชีพทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมในระดับขั้นสูง เพื่อเข้าไปวิเคราะห์ประเด็นปัญหานำไปสู่งานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม สามารถควบคุมและลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น อีกทั้ง สามารถปฏิบัติงานในงานที่ปรึกษา ออกแบบ ควบคุมระบบบำบัดและลดมลภาวะ และไม่เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศรวมถึงวางแผนระบบการจัดการทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างลงตัวโดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่างที่มีอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นหลัก

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อผลิตนักวิชาการ อาจารย์ และวิศวกรผู้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการขั้นสูงสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ระดับปริญญาเอกที่มีความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงที่ทันสมัย
  2. เพื่อผลิตผู้ที่มีความสามารถนำวิชาการไปประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติและมีศักยภาพที่จะพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม อีกทั้งเพื่อเป็นบุคลากรในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งเอกชนและราชการ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  3. เพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นรากฐานในการพัฒนางานเชิงบูรณาการในสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  4. เพื่อผลิตผลงานวิชาการขั้นสูงที่มีคุณภาพในหัวข้อวิจัยที่ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อสภาวะแวดล้อมที่ดีขึ้นของประเทศและท้องถิ่น
  5. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางวิชาการและงานวิจัยขั้นสูงด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยนเรศวรให้ทัดเทียมกับนานาชาติ และมีศักยภาพที่จะพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมต่อไปได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต
  6. เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาวิจัยและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในองค์กรเอกชน รัฐบาล ในภูมิภาคให้มีคุณภาพและศักยภาพทางวิชาการและการวิจัยขั้นสูงด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs)
  1. ELO1: สามารถปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
  2. ELO2: สามารถเสนอแนะแนวทางและดำเนินการจัดการปัญหาทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณอย่างถูกตอ้งและเป็นธรรม
  3. ELO3: สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ELO4: สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในงานวิจัยที่มีคุณภาพทั้งในระดับชาติและสากล
  5. ELO5: สามารถบูรณาการกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการวิจัย และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานและค้นคว้าวิจัย
  6. ELO6: สามารถสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ และแสดงความคิดเห็นทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. ELO7: สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีภาวะผู้นำที่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ในบริบทของการทำงานเชิงวิชาการและวิชาชีพ
  8. ELO8: สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการประเมินความน่าเชื่อถือ และความแม่นยำ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
  9. ELO9: สามารถนำเสนอต่อกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมทั้งในระดับชาติและสากล
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำร็จการศึกษา
  1. งานที่เกี่ยวกับวิชาการทางสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมในสถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย เช่น อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ เป็นต้น
  2. เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนองค์กรวิสาหกิจ ที่ดำเนินการเกี่ยวกับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ในกรมกองต่างๆ ของรัฐ เช่น กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นต้น
  3. วิศวกรสิ่งแวดล้อม และที่ปรึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อม
  4. ประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม